วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

การเลือกซื้ออาหารแช่แข็ง

การเลือกซื้ออาหารแช่แข็ง
1. อาหารที่นำมาแช่แข็ง ควรเป็นของที่มีคุณภาพดี ไม่เน่า อยู่ในสภาพที่เหมาะสมและสะอาด
2. ห่อต้องอยู่ในสภาพดี ป้ายไม่ขาด ไม่มีรอยเปื้อนและด่างดำ
3. ควรบอกวิธีใช้อาหารนั้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้บริโภค
4. ไม่ควรนำอาหารมาตั้งทิ้งให้ละลาย แล้วนำกลับเข้าแช่แข็งอีก เพราะจะทำให้อาหารนั้นเสีย ลักษณะที่ดี สูญเสียคุณค่าทางอาหารไปกับน้ำที่ละลายออก มา ถ้าจะใช้ควรแบ่งจากส่วนใหญ่ ตามจำนวนที่ต้องการ

การเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อสัตว์
อาหารประเภทเนื้อ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อหมู
เลือกซื้อเนื้อสัตว์อายุน้อย โดยพิจารณาดูจากกระดูกที่ติดมา ถ้ากระดูกพรุนสีแดง มีส่วนหุ้มปลายกระดูก ตามข้อต่อหนาแสดงว่าเป็นสัตว์อายุน้อย แต่ถ้ากระดูกมีรูพรุนน้อย ส่วนใหญ่ค่อนข้างแข็ง สีขาว มีส่วนหุ้มปลาย กระดูกบาง แสดงว่าเป็นสัตว์แก่ เนื้อเหนียว คุณภาพไม่ดีเท่าสัตว์อายุน้อย เลือกซื้อเนื้อที่ฆ่าถูกวิธี เช่น ฆ่าจากโรงฆ่าสัตว์ของรัฐบาล มีกรรมวิธีชำแหละถูกต้อง ได้รับการตรวจสอบ เรียบร้อยว่าปลอดภัย ไม่มีโรค หรือพยาธิที่ติดต่อมาถึงคนได้
การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ มีลักษณะดังนี้เนื้อวัว การเลือกซื้อเนื้อวัวที่สด จะมีสีแดงสดไม่เขียว เมื่อใช้มีดตัดจะแห้ง มีมันสีเหลือง ลองใช้นิ้วกดดู จะไม่เป็นรอยบุ๋ม เมื่อวางทิ้งไว้จะมีน้ำสีแดงออกมา ดมดูไม่มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือเหม็นเปรี้ยว เนื้อควาย มีสีแดงคล้ำกว่าเนื้อวัว เส้นหยาบมีมันขาว เมื่อปรุงอาหารสุกแล้วจะเหนียวกว่าเนื้อวัว
ข้อสังเกตความแตกต่างระหว่างเนื้อวัวกับเนื้อควาย เนื้อวัวมีสีแดงสด เนื้อแน่นละเอียด มันวัวมีสีเหลือเนื้อควายจะมีลายเส้นของกล้ามเนื้อหยาบ เนื้อเหนียวกว่าและมีสีคล้ำกว่าเนื้อวัว มันที่ติดเนื้อควายจะมีสีขาวเหมือนเนื้อหมูการเลือกซื้อเนื้อส่วนต่าง ๆ ราคาจะไม่เท่ากัน เมื่อเวลาซื้อ จะต้องบอกผู้ขายว่าเราต้องการเนื้อส่วนใด เพื่อไปประกอบอาหาร ฉะนั้นผู้ซื้อจะต้องรู้จักส่วนต่าง ๆ ของเนื้อเพื่อป้องกันการถูกหลอก
การเลือกซื้อเนื้อหมู ต้องดูเนื้อละเอียด มีสีชมพูอ่อน นุ่มเป็นมัน เนื้อแน่น มันสีขาวถ้าหมูแก่จะมีสีแดงแก่ มันสีเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น ส่วนต่าง ๆ ของหมูมี หัว เนื้อแดง เนื้อสันใน สามชั้นขาหน้า ขาหลัง ซี่โครงเครื่องใน กระดูก ส่วนต่าง ๆ ของเนื้อหมูที่นำมาประกอบอาหาร

การเลือกซื้ออาหารประเภทผักผลไม้
ผัก ผักที่ใช้เป็นอาหาร ได้มาจากส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ ใบผัก ราก ผล เมล็ด ดอก ควรเลือกผักดังนี้

1. เลือกซื้อตามฤดูกาล จะได้ผักที่มีคุณภาพดี ราคาถูก

2. เลือกซื้อจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่ สด ไม่ช้ำ

3. เลือกซื้อตามชนิดของผัก เช่น
- ผักที่เป็นหัว ควรเลือกซื้อที่มีน้ำหนัก เนื้อแน่น ไม่มีตำหนิ
- ผักที่เป็นฝัก ควรเลือกฝักอ่อนๆ เช่น ถั่วฝักยาว ต้องสีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน
- ผักที่เป็นใบ ควรเลือกสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ ไม่มีหนอน ต้นใหญ่ อวบ ใบแน่นติดกับโคน
- ผักที่เป็นผล ควรเลือกสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่เสีย
การเลือกซื้อผลไม้
1. ต้องดูผิวสดใหม่

2. ขั้วหรือก้านยังเขียวและแข็ง

3. เปลือกไม่ช้ำ ดำ

4. ขนาดของผลสม่ำเสมอ
การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
อาหารกระป๋องเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง ทำให้เก็บอาหารไว้ได้นาน ไม่เน่าเสีย ง่ายต่อการเก็บรักษา และสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดทั้งปี โดยนำมาผ่านกรรมวิธีการผลิตที่สามารถทำลายและยังยั้งการขยายพันธุ์ของเชื้อโรค โดยบรรจุในกระป๋องโลหะที่มีการใช้ดีบุกเคลือบเพื่อป้องกันการเกิดสนิมและมีฝาปิดสนิท
การเลือกซื้ออาหารกระป๋อง
ลักษณะภายนอก

1. ฉลาก จะต้องแสดงรายละเอียดดังนี้ ชื่ออาหาร เลขทะเบียนอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตน้ำหนักหรือปริมาตรสุทธิ วัน/เดือน/ปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ชนิด และปริมาณวัตถุเจือปน (ถ้ามี)

2. ภาชนะบรรจุที่เป็นกระป๋อง ฝา และก้นกระป๋อง ต้องไม่บุบบวม พองหรือโป่ง ไม่เป็นสนิม
ลักษณะภายใน

1. ขณะเปิดควรมีลมดูดเข้าไปในกระป๋อง แทนที่จะมีลมดันออกมา

2. อาหารที่บรรจุภายในต้องมีสี กลิ่น และรสตามลักษณะธรรมชาติของอาหารที่ผ่านความร้อนแต่ลักษณะต้องไม่เปลี่ยนไปจนอยู่ในสภาพที่เสื่อมคุณภาพ

3. ผิวด้านในกระป๋องควรเรียบ ไม่มีรอยเส้น สนิม หรือรอยด่าง ซึ่งแสดงว่ามีการกัดกร่อน

4. อาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ผักกาดดอง ควรเป็นกระป๋องที่มีแลคเกอร์เคลือบด้านใน
การบริโภค
1. ก่อนบริโภคถ้าต้องการอุ่น ควรถ่ายใส่ภาชนะหุงต้ม แล้วจึงอุ่น

2. อาหารกระป๋องที่เปิดแล้วควรถ่ายใส่ภาชนะอื่น เช่น ภาชนะแก้วมีฝา แล้วเก็บไว้ในตู้เย็น

3. ไม่ควรเก็บอาหารกระป๋องไว้นาน

4. ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็นแต่ไม่อับชื้น และไม่ถูกแสงแดด

5. เก็บไว้ในที่สูงจากพื้น ป้องกันความสกปรกจากพื้น และสัตว์นำโรค


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น